กิฟฟารีน giffarine www.no-poor.com
ธุรกิจเสริม กิฟฟารีน
กิฟฟารีน ธุรกิจเสริม อาชีพเสริม รายได้เสริมออนไลน์ ปรึกษาเรา ตรวจสอบดวงชะตา ศึกษาพลังธาตุในตัวคุณ วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน ภาวะผู้นำและลักษณะงานที่เหมาะกับคุณ ก่อนเริ่มธุรกิจ-คุยกับเราที่ no-poor.com

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การช่วยคนรากหญ้าในโลกทุนนิยม มี 2 วิธีหลัก คือ

ก. ปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตร และปกป้องภาคเกษตรกรรมของประเทศวิธีนี้ต้องเชื่อว่าประเทศไทยมีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านภาคการเกษตรจริงๆ มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบด้านอุปทานในภาคการเกษตรถึงบรรทัดนี้อยากถามว่า แน่ใจหรือว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบเทียบในด้านนี้ โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านที่ดิน???และเมื่อเพื่อพิจารณาบริบทแวดล้อมระดับโลกในกรอบของความสามารถเชิงแข่ง ขัน แน่ใจหรือว่าประเทศไทยมีความสามารถในด้านภาคเกษตรกรรม ผมตอบได้เลยว่าไม่มีครับ ประเทศไทยล้าหลังในด้านเทคนิคการเกษตร (ผมหมายถึงชาวนารายย่อย แต่อันที่จริงบริษัทการเกษตรรายใหญ่ของไทยไม่ว่าจะเป็นด้านข้าว น้ำตาล ก็มีประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำมากในระดับโลกทั้งสิ้น) การชลประทาน ปุ๋ย การเพาะพันธุ์พืชและ ฯลฯ ประเทศไทยมีทักษะด้านอะไรไปแข่งกับโลก ไม่มีเลย เพราะเราไม่เคยใส่ปัจจัยทุนใช้ในการวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้จริงจัง แม้กระทั่งรัฐบาลไทยรักไทย ตลอด 5 ปีไม่เคยสนใจที่ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรม
ข. เปลี่ยนชนชั้นรากหญ้าให้เป็นชนชั้นกลางซะวิธีนี้เป็นวิธีที่กลุ่มโลกที่1 ทำกันอยู่โดยทั่วไป เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาสินค้าเกษตรโดยมากมักผันผวน ไม่แน่นอน มูลค่าเพิ่มต่ำ ไม่สามารถสะสมทุนและยกระดับการพัฒนาประเทศไทยโดยรวมได้ ที่ผ่านมานโยบายแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแผน 1 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ เข้าใจถึงข้อนี้ดี โดยพยายามบีบแรงงานภาคเกษตรออกมาเป็นแรงงานในเมือง เก็บภาษีส่งออกข้าว หรือพรีเมียมข้าว แต่แผนดังกล่าวไมได้ชดเชยผลลบที่เกิดจากการโยกย้ายแรงงานในภาคการเกษตรมาสู่ โรงงานสิ่งทอ และอุตสาหกรรมอื่นๆแผนพัฒนาฯ ตั้งแต่แผนแรกถึงแผน 6 หรือ 7 (ผมจำไม่ได้) ไม่ได้มีสิ่งที่เรียกว่าหลักประกันทางสังคม สหภาพแรงงาน สวัสดิการทำงานเยี่ยงประเทศอุตสาหกรรมดังนั้น แรงงานภาคการเกษตรที่โยกย้ายเข้าสู่ภาคการผลิตในเมืองต้องเผชิญกับภาวะเงิน เฟ้อในเมือง (ราคาสินค้าและบริการทั่วไปในเขตเมืองสูงกว่าเขตชนบท) และผลลบจากอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ยิ่งทักษะแรงงานไทยไม่ได้พัฒนาในระดับเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ จึงมีปรากฏการณ์ทักษะแรงงานไทยระดับเดียวกับพม่าและกะเหรี่ยง แต่ค้าจ้างสูงกว่า นายจ้างจะเลือกใครhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1bf479bb2efc0aa4&clk=wttpcts
http://www.no-poor.com/
http://www.up-toyou.net/

ไม่มีความคิดเห็น: