กิฟฟารีน giffarine www.no-poor.com
ธุรกิจเสริม กิฟฟารีน
กิฟฟารีน ธุรกิจเสริม อาชีพเสริม รายได้เสริมออนไลน์ ปรึกษาเรา ตรวจสอบดวงชะตา ศึกษาพลังธาตุในตัวคุณ วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน ภาวะผู้นำและลักษณะงานที่เหมาะกับคุณ ก่อนเริ่มธุรกิจ-คุยกับเราที่ no-poor.com

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คุณภาพ/ความต่าง แจ้งเกิด ''กิฟฟารีน''

เริ่มจากธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนปัจจุบันธุรกิจขายตรง ภายใต้ชื่อ กิฟฟารีน ก้าวขึ้นมาสู่ธุรกิจขายตรง หรือ MLM (Multi Level Marketing) ยักษ์ใหญ่ที่ใครๆต่างรู้จัก ไม่เฉพาะแค่ในประเทศ แต่ชื่อเสียงขจรขจายไปใน30 ประเทศทั่วโลก เป็นโลคอลแบรนด์คนไทยที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็วเพียงแค่ 11 ปี จากยอดขายปีแรกเพียง 348 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเหยียบ 3,900 ล้านบาทในปี 2550 กับ 94 สาขาทั่วประเทศไทยภาพความสำเร็จของกิฟฟารีนในวันนี้ ส่งผลให้บทบาทความเป็นนักธุรกิจหญิงของ คุณหมอต้อย หรือ แพทย์หญิง นลินี ไพบูลย์ ในฐานะซีอีโอหญิงและผู้ก่อตั้งบริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุดเธอได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 3 นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก ปี 2007 อีกด้วย
และเมื่อเร็วๆนี้ เธอยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จของไทยเข้าร่วมประชุม Asian Forum on Venture Business ในหัวข้อ Ladies and Now Leading The Business New Challenged For Business In Asian ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และวิสัยทัศน์การทำธุรกิจ ตลอดจนหลักการบริหารงานองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย หรือ Asian Productivity Organization (APO) คือ องค์การระหว่างประเทศของรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจั้งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 เป็นองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่หวังผลกำไร และไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติหรือความแตกต่าง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตและเร่งรัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก 20 ประเทศ มี 8 ประเทศสมาชิกร่วมผู้ก่อตั้ง คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ภายหลังมีอีก 12 ประเทศเข้าร่วมสมทบ คือ ฮ่องกง อิหร่าน เวียดนาม ศรีลังกา อินโดเนีย
-กำหนดทิศทางกิฟฟารีน
คุณหมอต้อย เริ่มต้นถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟัง โดยเริ่มจากแรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดการจัดตั้งบริษัทธุรกิจขายตรง กิฟฟารีน ว่า เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้หย่ากับสามี ซึ่งได้ส่วนแบ่งเป็นเงินสดมาจากธุรกิจที่ทำร่วมกัน คือ สุพรีเดอร์ม ประมาณ 10 ล้านบาท พร้อมๆกับสิทธิ์ในการดูแลบุตรสาวทั้งสอง
ช่วงเริ่มต้นของการสร้าง กิฟฟารีน ในปี 2539 ซึ่งเป็นโลคัลแบรนด์มิใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากเป็นจังหวะที่กำลังจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจพอดิบพอดี (ปี 2539) แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณหมอต้อยเชื่อมั่นว่า จะสามารถผ่านพ้นไปได้ อุปสรรคที่ใหญ่กว่า คือ การปรับทัศคติของคนไทยที่มีต่อธุรกิจขายตรง
ประสบการณ์จาก สุพรีเดอร์ม สอนให้รู้ว่า คนไทยไม่ค่อยชอบงานขาย หากขายของให้เพื่อนมักจะทำไม่ได้ กลัวเพื่อนจะมองไม่ดี เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรถึงจะลบทัศนคติในเรื่องนี้ได้ จึงเกิดแนวคิดใหม่ และนำมาพัฒนาให้เกิดขึ้นในธุรกิจขายตรง ภายใต้แบรนด์ กิฟฟารีน โดยสื่อสารออกไปยังกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มสมาชิกให้รับทราบว่า กิฟฟารีน ต้องการเชิญเขามาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ มาสร้างเครือข่ายการใช้สินค้าของกิฟฟารีน แทน
ความสำเร็จในวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการวางโมเดลธุรกิจให้ แตกต่างและโดนใจ กลุ่มผู้บริโภค ซึ่งมาจากประสบการณ์ตรงและแนวคิดแบบฉบับของคุณหมอนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบโจทย์ และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง โดยวางโปรดักส์ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และระบบผลตอบแทนตัวแทนขาย ที่เน้นเช่นเดียวกับการให้ผลกำไรกับผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่แตกต่างไปจากแบรนด์อื่น
ขณะที่การสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น คุณหมอต้อยยึดหลัก ความโปร่งใส คนที่เป็นนักธุรกิจและพนักงานของกิฟฟารีนจะรู้ทุกอย่างว่า บริษัทมีผลประกอบการเท่าไร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ชี้ให้เขาเห็นว่า เราลงทุนในเรื่องใดบ้าง ประโยชน์ที่เขาได้คืออะไร ง่ายๆคือ ถ้าเราประสบความสำเร็จเราก็ประสบความสำเร็จร่วมกัน ถ้าจบเราก็จบด้วยกัน ทุกคนในกิฟฟารีนรู้ทุกอย่างราวกับ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง
-คุณภาพ/ความต่าง
แนวคิดของกิฟฟารีน เกิดขึ้นจากการประมวลภาพของคน ตลาด และกลุ่มลูกค้า ด้วยความเข้าใจ โดยนำความเป็นแพทย์เข้ามาใช้ เพราะโดยส่วนตัวแล้วคุณหมอท่านนี้เชื่อมั่นว่า การจะทำให้คนไทย เชื่อมั่นในโลคอลแบรนด์นั้น ผลิตภัณฑ์สินค้าจะต้องมีสิ่งที่ มากกว่าและแตกต่าง ดังนั้น สินค้าของกิฟฟารีนจึงเน้นคุณภาพ วัตถุดิบ และราคาที่ไม่แตกต่างจากสินค้าในตลาด ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคว่า เป็นไปตามแนวคิดและนโยบายดังกล่าวข้างต้น กิฟฟารีน จึงต้องมีผลวิจัย และเอกสารอ้างอิงประกอบให้กับผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของบริษัท
ด้วยความที่เราเป็นหมอ การที่เราจะเชื่อในยาตัวใดตัวหนึ่ง จะต้องดูว่า มีงานวิจัยชิ้นใดมาสนับสนุนอยู่ด้วยไหม เป็นสถาบันที่เชื่อถือได้หรือไม่ ก็ไม่มีเหตุผลที่เขาจะไม่เชื่อ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ของกิฟฟารีนจะบอกรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ มีงานวิจัยสนับสนุนมาประกอบ รวมทั้งขั้นตอนการผลิตต่างๆด้วย นอกจากนี้เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตเป็นของตัวเอง กิฟฟารีนจึงมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองด้วย
-ปัจจัยความสำเร็จ
กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ แน่นอนว่า ต้องประกอบด้วยหลากหลายปัจจัยที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในปัจจุบัน และกิฟฟารีนเองก็เช่นกันที่ไม่ต่างจากธุรกิจทั่วไป ซึ่งคุณหมอต้อยบอกว่า ในฐานะผู้นำองค์กร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจกลุ่มลูกค้า ซึ่งกิฟฟารีนให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่กิฟฟารีนคำนึงและให้ความสำคัญสูงสุด เป็นเรื่องของความต้องการของลูกค้า รวมถึงทิศทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ความมุ่งหวังของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ของกิฟฟารีน อาจกล่าวได้ว่า กิฟฟารีน เป็นบริษัทที่ใช้ การตลาดเป็นตัวขับเคลื่อน เป็นตัวนำ (marketing lead) ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้กิฟฟารีนผลิตสินค้าตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเรื่อยมา
ประการที่สองคือ การสร้างเข้าใจต่อรูปแบบของธุรกิจที่มีความชัดเจน แจ่มชัด เป็นรูปธรรมให้กับคนไทยว่า เป็นธุรกิจที่จับต้องได้ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ก็เป็นสินค้าที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำได้ง่ายและสม่ำเสมอในกลุ่มคนไทย ซึ่งปัจจุบันใน 4 ล้าน 3 แสนรหัส มีนักธุรกิจอิสระที่รับรายได้จากกิฟฟารีนประมาณ 300,000 คน ที่เหลือเป็นผู้บริโภค
ประการที่สามคือ ความสามารถในการปลูกฝังคนในองค์กรให้มีความรู้สึกว่า ทุกคนเป็นเจ้าของกิฟฟารีนร่วมกัน ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้พนักงานทุกคนมีความสุขที่จะทำงานอยู่ในองค์กรแห่งนี้ สุดท้ายคือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับธุรกิจขายตรง อย่างการสร้างแบรนด์ด้วยวิธีการทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในรูปของสื่อมีเดีย
ขณะที่เทคนิกการบริหารความเสี่ยง คุณหมอต้อยบอกว่า ถ้ามีการเตรียมความพร้อม มีแผนงานที่ดี ความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ที่สำคัญคือ อย่าใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางในการตัดสินใจ แต่ให้ใช้เหตุผล ใช้คนที่มีส่วนร่วมในผลได้ผลเสีย
ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ http://news.giggog.com/economic/cat5/news12612/
http://www.no-poor.com/
http://www.up-toyou.net/

ไม่มีความคิดเห็น: